เจาะลึกการบริโภคเครื่องสำอางในตลาดจีน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เฉิงตู เผยว่า ขณะนี้จีนกลายเป็นตลาดบริโภคเครื่องสำอางอันดับ 2 ของโลก รองมาจากสหรัฐฯ โดยมูลค่าการขายเครื่องสำอางในตลาดจีนมากกว่า 2 แสนล้านหยวนต่อปี คิดเป็น 15.45% ของตลาดเครื่องสำอางทั้งโลก โดยปัจจุบันเครื่องสำอางที่วางขายในตลาดจีนมีทั้งสิ้น 11 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว, ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม, ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก, คอสเมติกส์, เครื่องอาบน้ำ, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเด็ก, ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชาย, ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด, น้ำหอม, ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และผลิตภัณฑ์กำจัดขน

ปี 60 ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวครองส่วนแบ่งในตลาดเครื่องสำอางของจีนกว่า 51.62% หรือกว่า 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งโลก ขณะที่คอสเมติกส์ และน้ำหอมมีสัดส่วน 9.5% และ 1.7% ตามลำดับ คาดว่าปี 61 ขนาดตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 1.8 แสนล้านหยวน โดยเครื่องสำอางที่ผลิตภายในประเทศมีกว่า 5 แสนชนิด และกว่า 4,000 แบรนด์ (ในจำนวนนี้มีแบรนด์ใหญ่ราว 375 บริษัท) โดยส่วนใหญ่กระจายใน 5 พื้นที่หลักของจีน ได้แก่ กวางตุ้ง, เจียงซู, เซี่ยงไฮ้, เจ้อเจียง และอานฮุย

เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลาง และขนาดเล็กที่อยู่ในช่วงการพัฒนา มีปัญหาด้านเงินทุน ขาดการวิจัยและพัฒนาในการผลิต ทำให้คุณภาพของสินค้าไม่สามารถแข่งขันกับเครื่องสำอางนำเข้าได้ ทั้งบางบริษัทยังไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง จีนจึงยังต้องพึ่งพาการนาเข้าจากต่างประเทศ เพื่อชดเชยตลาดที่แคลนแบรนด์เครื่องสำอาง Hi-End

ปี 60 ขนาดตลาดเครื่องสำอางจีนมีมูลค่าสูงถึง 3.512 แสนล้านหยวน +10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าปี 64 ขนาดตลาดบริโภคเครื่องสำอางในจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 4.337 แสนล้านหยวน แต่ปัจจุบันการบริโภคเครื่องสำอางในจีนมีค่าเฉลี่ยเพียง 352.4 หยวนต่อคนเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จีนยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการบริโภคเครื่องสำอางเป็นอย่างมากในอนาคต ส่วนกลุ่มผู้บริโภคเครื่องสำอางในตลาดจีนแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มหลัก คือ

  • กลุ่มอายุต่ากว่า 18 ปี ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนมัธยม โดยจะนิยมบริโภคสินค้าเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศเพราะมีราคาถูก โดยแบรนด์สินค้าดังกล่าว เช่น Dabao, Pechoin, Inoherb
  • กลุ่มอายุ 18-24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัย หรือวัยเริ่มทำงาน โดยมีสัดส่วนถึง 11.9% และนิยมบริโภคแบรนด์สัญชาติจีนที่มีชื่อเสียง เช่น Maxam, Shulei, Oupres
  • กลุ่มอายุ 25-29 ปีที่มีรายได้ระดับกลาง มีสัดส่วน 36% มักให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าโทนเนอร์ และมาร์คหน้า มีแบรนด์สินค้าที่ได้รับความนิยม เช่น L’Oreal, Lancome, Chando
  • กลุ่มอายุ 30-35 ปีเป็นกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหลักของจีน เพราะมีสัดส่วนถึง 40% และส่วนใหญ่จะเป็นหญิงวัยทำงานในเมืองมีรายได้สูง และนิยมซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ Hi-End ทั้งมีชื่อเสียงและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐฯ เกาหลีไต้ ไทย และญี่ปุ่น เช่น L’Oreal, Mary Kay, Innisfree, Snail White, Olay, Clarins
  • กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีรายได้ระดับกลางถึงสูง ส่วนใหญ่นิยมบริโภคครีมบำรุงผิว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอย ที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศ

จีนมีช่องทางการจำหน่ายสำคัญ คือ

ออนไลน์ คือร่วมมือกับบริษัทที่ทำธุรกิจ Cross Border E-commerce ในจีน เช่น kaola.com, tmall.hk, global.vip.com และ jd.hk
ออฟไลน์ เช่นห้างสรรพสินค้า Wangfujing, Pacific, Ito Yokado, Isetan ร้านแฟรนไชส์ Watsons, Gialen, Innisfree และร้านขายเครื่องสำอางโดยเฉพาะ เนื่องจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ลูกค้ามักนิยมเข้าร้านประเภทนี้มากขึ้น เนื่องจากต่อราคาได้ รวมถึงร้านสะดวกซื้อ WoWo, 7-eleven และ Family Mart

ด้านภาษี บริษัทนำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้า ภาษีบริโภค และภาษีมูลค่าเพิ่ม 30% สำหรับสินค้ากลุ่มคอสเมติกส์ น้ำหอมและชุดเครื่องสำอาง นอกจากนี้ ภาษีนำเข้าทั่วไปของเครื่องสำอางสำหรับปาก ตา และเล็บ จะอยู่ที่ 150% อัตราภาษีนำเข้า MFN (The Most-favoured-nation Rate of Duty) ซึ่งใช้กับการนำเข้าจากประเทศที่มีข้อตกลง MFN กับประเทศจีน 10% ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17% และภาษีบริโภค 30%

ส่วนธุรกิจ Cross Border E-commerce (ใช้สำหรับบุคคล) ซึ่งต้องใช้บัตรประชาชนในการสั่งซื้อสินค้าผ่านธุรกิจ Cross Border E-commerce โดยจะต้องชำระ Post tax ตามประเภทเครื่องสำอาง (หาก Post tax ไม่ถึง 50 หยวนจะไม่ต้องเสียเงิน) นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องชาระภาษีบริโภค ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนาเข้า และภาษีรวมของภาษีดังกล่าว

“จีน” ตลาดใหญ่หนุนส่งออกเครื่องสำอาง

สภาอุตฯแนะผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย เสริมเขี้ยวเล็บ รับมือแบรนด์นอกบุก-ลุยขยายตลาดต่างประเทศ หลังกำลังซื้อในประเทศซบเซา ชี้จีนตลาดใหญ่ คนรุ่นใหม่กำลังซื้อสูง ต้องการสินค้าคุณภาพดี ราคาไม่เกี่ยง คาดตลาดรวม 2.8 แสนล้านปีนี้เติบโต 7-8%

นางเกศมณี เลิศกิจจา รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย ระบุว่า ตลาดเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศไทยมูลค่า 2.8 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 1.68 แสนล้านบาท และส่งออก 1.12 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีการเติบโตอยู่ที่ 7-8% ในปีนี้ จากปกติที่เติบโตดับเบิลดิจิตขึ้นไป จากสภาพเศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะกลุ่มที่เจาะตลาดแมส เนื่องจากผู้บริโภคระดับล่างมีกำลังซื้อลดลง ส่วนกลุ่มที่เจาะตลาดกลางบน ยังคงจับจ่ายแต่จะมองเรื่องความคุ้มค่า และคุณภาพของสินค้ามากขึ้น

รวมถึงปัจจัยด้านการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทั้งจากแบรนด์ในประเทศและต่างประเทศที่เข้ามา โดยขณะนี้ข้อตกลงทางการค้าหลายฉบับ ทำให้มาตรการทางภาษีนำเข้าเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือรอบด้าน โดยแนวทางที่สภาอุตฯและสมาคมต้องการผลักดันอย่างต่อเนื่อง คือการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ อาทิ เทรนด์ความงามที่เกิดขึ้น การออกไปหาโอกาสจากตลาดที่มีศักยภาพในต่างประเทศ ฯลฯ

จากการศึกษาพบว่า จีนเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง มีประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน หรือแค่เพียงมณฑลหนึ่งก็มีขนาดของประชากรใหญ่กว่าไทย เช่น กว่างโจวมีประชากร 90 ล้านคน เป็นต้น โดยคนจีนรุ่นใหม่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และมองหาของดี ซึ่งหากสินค้ามีราคาแพงแต่มีคุณภาพก็ยอมที่จะใช้จ่าย สำหรับกลุ่มเครื่องสำอางที่คนจีนนิยม ได้แก่ กลุ่มสกินแคร์ใบหน้า กลุ่มไวเทนนิ่ง กลุ่มลดรอยด่างดำ ฯลฯ รวมถึงพื้นที่แนวตะเข็บชายแดนก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะคนในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว เมียนมา กัมพูชา นิยมสินค้าแบรนด์ไทย เนื่องจากมีการรับชมโฆษณาและละครโทรทัศน์อยู่เป็นประจำ

นอกจากนี้ สภาอุตฯยังส่งเสริมผู้ประกอบการไทยโดยการจัดงานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ภายใต้งานบียอน บิวตี้ แบงคอก-อาเซียน โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2560 เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าแบรนด์ไทย และเป็นพื้นที่ให้ผู้ซื้อที่มีศักยภาพจากทั่วโลกเข้ามาเยี่ยมชม และจับคู่เจรจาธุรกิจ ตลอดจนให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป ผ่านงานสัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ เทรนด์ด้านแฟชั่นและความงาม, เทรนด์ธุรกิจค้าปลีกและอุตสาหกรรมความงาม ฯลฯ

เทรนด์นาโนเทคโนโลยี เครื่องสำอาง เวชสำอางสมุนไพรไทย 2561

ปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นยุคทองแห่งสมุนไพรไทย ด้วยผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพตามวิถีธรรมชาติและบำบัดอาการต่างๆ ด้วยพืชพรรณสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์เวชสำอางมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านผู้ประกอบการและจำนวนผู้บริโภค

โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เวชสำอางธรรมชาติ (Natural Cosmeceuticals) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องไม่มีส่วนผสม เช่น กลิ่น สี สารปรุงแต่ง สารที่ทำให้คงสภาพ ตัวทำละลาย เป็นต้น ที่เป็นสารสังเคราะห์ รวมทั้งยังต้องไม่มีการฉายรังสี ไม่มีการใช้วัตถุดิบที่ปนเปื้อน หรือตัดแต่งพันธุกรรม และไม่ใช้สัตว์ทดลอง (การใช้สัตว์ทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและอาการแพ้ที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นใหม่) ผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ปลอดสารเคมี การผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คลังข้อมูลอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเวชสำอางได้คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดเครื่องสำอางโลกในปี 2560 จะมีมูลค่าถึง 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1,529 ล้านบาท และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2555-2560 ที่ผ่านมาคิดเป็น 8%

ธุรกิจความงามไทยโดยภาพรวม ไทยเป็นศูนย์กลางเครื่องสำอางอันดับ 3 ของเอเชีย ต่อจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่เป็นเบอร์หนึ่งของตลาดเครื่องสำอางในอาเซียน มีมูลค่าตลาดรวม 2.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 60% คิดเป็นมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท และตลาดส่งออก 40% คิดเป็นมูลค่า 9 หมื่นล้านบาท

กระแสนิยมของผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงสารเคมี หันมาให้ความสนใจผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเน้นการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ จากสมุนไพรที่มีคุณสมบัติที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องความงามได้

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพของสมุนไพร ทุกๆ ภูมิภาคอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชและสมุนไพรนานาพันธุ์ที่เหมาะสมจะใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเครื่องสำอางและเวชสำอางประเภทต่างๆ ทดแทนส่วนประกอบที่เป็นสารเคมี และมีความสามารถหยิบฉวยมรดกทางปัญญา นำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเกือบ 100% มาประยุกต์ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางตามภูมิปัญญาของคนไทย ถือเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

เทรนด์เครื่องสำอาง/เวชสำอางสมุนไพรไทย

ในอดีตสมุนไพรไทยเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นทั้งอาหาร เครื่องประทินผิว เนื่องจากมีราคาถูกและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และด้วยสรรพคุณของสมุนไพรที่มีอยู่มากมายจึงนำมาใช้เป็นยารักษาโรคในการแพทย์แผนไทย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวนมากได้นำสรรพคุณของสมุนไพรมาเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางต่างๆ

เนื่องจากเป็นเครื่องสำอางในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือสูงกว่าเครื่องสำอางที่มีจำหน่ายทั่วๆ ไปในท้องตลาด ที่ผลิตจากสารเคมี ประกอบกับกระแสนิยมธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อม กระแสสวยทั้งภายนอกและภายใน กระแสความใส่ใจความงามและสุขภาพก็กำลังมาแรง จึงส่งผลให้ตลาดเวชสำอางหรือเครื่องสำอางสมุนไพรของไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ

หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบายรวมกลุ่มอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ออกสู่ตลาด คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทยที่มีการรวบรวมสมาชิกมาฝึกอบรมแก้ปัญหาเรื่องจุดอ่อนด้านนวัตกรรมและมาตรฐาน ภาพลักษณ์และการสร้างตราสินค้า

อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยมีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเกือบ 2,000 ราย สมประสงค์ พยัคฆพันธ์ ประธานคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย ให้สื่อมวลชนในงานไทยแลนด์ คอสเมติก คอนเทสต์ 2016 (Thailand Cosmetic Contest 2016) วิเคราะห์ว่า จุดเด่นของสินค้าไทย คือการนำภูมิปัญญาไทยกับการผสมผสานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์ ซึ่งได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศที่ชื่นชอบการดัดแปลงจากสมุนไพรซึ่งจัดว่าเป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่าสูง

ส่วนจุดอ่อนของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยนั้นมีอยู่ 4 ด้านหลักคือ นวัตกรรม มาตรฐานสินค้า ภาพลักษณ์และการสร้างแบรนด์ และด้านบรรจุภัณฑ์

“ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แต่เราเป็นแค่โรงงานผลิต ไม่เก่งเรื่องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการสร้างแบรนด์ที่ขาดความเป็นสากล รวมไปถึงนวัตกรรมในการผลิตที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ทำให้สูญเสียรายได้ไปมหาศาล เพราะถ้าขายในรูปแบบแบรนด์มูลค่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า”

นาโนเทคโนโลยีพัฒนาเครื่องสำอาง/เวชสำอาง

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้อย่างสูงให้กับประเทศไทย และมีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเครื่องสำอางที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นกลุ่มของเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของพืชสมุนไพร รวมถึงสารสกัดจากธรรมชาติ ส่งผลให้มีการวิจัยและพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยอย่างแพร่หลาย

ประกอบกับประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางชีวภาพ สมุนไพรและวัตถุดิบจากธรรมชาติหลายชนิด ที่มีศักยภาพต่อการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในกลุ่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในประเทศหรือในระดับสากล

ตลาดเครื่องสำอางและเวชสำอางเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตต้องพยายามคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์และมีรูปแบบแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา เกิดการร่วมมือสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยระหว่างภาครัฐและเอกชน มีการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชนิดใหม่

โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากสมุนไพรไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสูตรตำรับที่มีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรในผลิตภัณฑ์เวชสำอางด้วยการห่อหุ้มสารสกัดสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ เช่น นาโนพาร์ทิเคล (Nanoparticles) นาโนลิโปโซม (Nanoliposomes) นาโนอิมัลชั่น (Nanoemulsion) เป็นต้น เพื่อช่วยในการดูดซึมของสาร สามารถใช้สารให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นาโนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจของพืชสมุนไพรไทย (Nanotechnology for Efficiency and Economic Value Enhancement of Thai Herbs) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจของพืชสมุนไพรไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชสมุนไพรไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก เพื่อสร้างรายได้และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศ ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0

ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีแผนพัฒนาพืชสมุนไพรไทยให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชสมุนไพรไทย ตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 โดยมุ่งเน้น 4 สมุนไพรหลัก ได้แก่ บัวบก ขมิ้นชัน กระชายดำ และไพล

“ด้วยการนำเทคโนโลยีการกักเก็บมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับพืชสมุนไพรไทย ซึ่งข้อดีของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ อาทิ สามารถควบคุมการปลดปล่อยสารสำคัญ ลดปริมาณการใช้และเพิ่มความคงตัวของสารสำคัญ เป็นต้น โดยปัจจุบันได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการกักเก็บสารสกัดสมุนไพรอนุภาคนาโนกับพืชสมุนไพรทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ได้แก่ อาหารคน อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง รวมถึงด้านสุขภาพและการแพทย์”

การประยุกต์ใช้ด้านความสวยความงาม ดร.วรรณี กล่าวว่า ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้นำเทคโนโลยีการกักเก็บมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องสำอาง ศูนย์ฯ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง/เวชสำอางชนิดใหม่โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย

“จากการพัฒนาสูตรตำรับที่มีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บในรูปแบบนาโนพาร์ทิเคิล นาโนลิโปโซม นาโนอิมัลชั่น เป็นต้น รวมถึงมีการวิจัยและพัฒนาทางด้านการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและประสิทธิศักดิ์ของผลิตภัณฑ์ในการให้ความชุ่มชื้น ชะลอริ้วรอย ทำให้ผิวกระจ่างใส ลดการเกิดสิว ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพและการแพทย์ สำหรับการรักษาในอนาคตด้วยเทคนิคการนำส่งผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดไมโครเมตร ซึ่งสามารถนำส่งยาหรือสารสมุนไพรเพื่อการรักษาและเก็บตัวอย่างเพื่อการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและเป็นวิธีการที่สะดวกและปลอดภัย”

สรุปท้ายสุด ดร.วรรณี ชี้ว่าศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจ ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาประสิทธิภาพสมุนไพรและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

“มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนสามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าสมุนไพรไทยด้วยนวัตกรรมด้านนาโนเทคโนโลยี จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่ภาคการผลิต เพื่อสร้างรายได้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในประเทศต่อไป”

ขอบคุณ

posttoday.com

โอกาส SMEs ไทยในการรุกตลาดฮาลาลในมาเลเซีย

ผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่คนนึกถึงส่วนใหญ่ นอกจากจะเป็นสินค้าบริโภคแล้ว ยังหมายรวมถึงสินค้าอุปโภคประเภทข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วย อาจจะเป็นสินค้าที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร อาทิ เครื่องสำอาง ซอสปรุงรส อาหารแปรรูป เสื้อผ้า ตลอดจนงานด้านบริการต่างๆ เช่น ธนาคาร โรงพยาบาลและโรงแรม
ประเทศมาเลเซียถือเป็นตลาดสินค้าฮาลาลที่สำคัญ ด้วยตัวเลขประชากรชาวมุสลิมกว่า 13 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อย 60 ของประชากรในประเทศ ซึ่งคนมาเลเซียยังให้ความนิยมบริโภคสินค้าจากประเทศไทย มาเลเซียจึงเป็นตลาดหนึ่งในอาเซียนที่ผู้ส่งออกไทยควรจะให้ความสนใจในการส่งออกสินค้าฮาลาลมากยิ่งขึ้น

วันนี้น่าจะถึงเวลาของ “ฮาลาลคอสเมติกส์” หรือ เครื่องสำอางมุสลิม บ้างแล้ว หลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินและรู้ว่าปัจจุบันในตลาดโลกมีสินค้าที่เรียกว่า “ฮาลาลคอสเมติกส์” และตลาดสินค้าฮาลาลคอสเมติกส์นี้เคยเป็นเพียงสินค้ารองรับตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือนิชมาร์เกตมาก่อน โดยจำกัดอยู่ในกลุ่มลูกค้าสาวๆ ในบางพื้นที่เท่านั้น แต่ปัจจุบันลูกค้ากลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น ในขณะที่จำนวนสมาชิกผู้ประกอบการเครื่องสำอางของไทยนั้น มีอยู่มากถึง 2,000 ราย และ 90% เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม แต่บ่อยครั้งที่แบรนด์เหล่านี้ขาดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการบุกตลาดใหม่ ๆ อย่างตลาดฮาลาล

นางเกศมณี เลิศกิจจา นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีการส่งออกเครื่องสำอางไปยังประเทศมุสลิมผ่านการค้าชายแดนทางประเทศมาเลเซียมานาน และกระจายสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งหากมีมาตรฐานฮาลาลจะสามารถขจัดอุปสรรคทำให้ผู้ประกอบการทำตลาดในประเทศกลุ่มมุสลิมได้อย่างราบรื่น อีกทั้งได้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง และต้นทุนถูกกว่าในตลาดที่ใหญ่กว่า จากจำนวนประชากรมุสลิมมากกว่า 200 ล้านคนในภูมิภาคอาเซียน
คำว่า “ฮาลาล” มาจากภาษาอารบิก มักจะใช้ในการอธิบายลักษณะของอาหารและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีการผลิตขึ้นโดยอาศัยหลักการของศาสนาอิสลาม และไม่ละเมิดข้อห้ามของศาสนาอิสลาม เพราะฉะนั้น ฮาลาลคอสเมติกส์ คือเครื่องสำอางที่ผลิตตามหลักการของ “ชาริอะห์” หรือหลักการของศาสนาอิสลาม ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณจะผลิตมาจากแร่ธาตุ ปราศจากส่วนผสมของหมูและส่วนผสมที่เป็นแอลกอฮอล์ ทั้งนี้จุดเด่นของการตลาดฮาลาลคอสเมติกส์นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายประการด้วยกัน ประการแรก ฮาลาลคอสเมติกส์ได้รับความเชื่อถือว่าเป็นสินค้าที่ปลอดภัย ปราศจากสารสังเคราะห์ทางเคมี โลหะหนักหรือส่วนผสมที่อาจจะเป็นอันตราย ประการที่สอง ฮาลาลคอสเมติกส์ไม่จำเป็นต้องนำไปทดลองในสัตว์ก่อนนำมาให้คนใช้ จึงเข้าคอนเซ็ปต์ของบรรดานักอนุรักษนิยม กลุ่มนักจริยธรรม และกลุ่มที่ใส่ใจในการรักษาสภาพแวดล้อมด้วย ประการที่สาม อัตราการเติบโตทางธุรกิจของฮาลาลคอสเมติกส์มีมูลค่าเกินกว่าปีละ 10% มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะยังอยู่ต่อไปในอีกหลายปี ไม่น้อยกว่า 10 ปีข้างหน้านี้ประการที่สี่ ตลาดหลักของฮาลาลคอสเมติกส์คือประเทศที่ร่ำรวยในกลุ่มอาหรับ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เฉพาะในตะวันออกกลาง ยอดการจำหน่ายของฮาลาลคอสเมติกส์เกินกว่า 2,100 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าจะมีการขยายไลน์ของผลิตภัณฑ์ออกไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี รวมทั้งอาจจะมีแบรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลกของการตลาดฮาลาลคอสเมติกส์ เพื่อฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจในตลาดส่วนนี้

ด้วยความสัมพันธ์ใกล้ชิดและคุ้นเคย ตลาดมาเลเซียจึงกลายเป็นตลาดที่น่าสนใจ นอกเหนือจากตลาดยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการขนส่งที่ถูกกว่า อีกทั้งสินค้าไทยยังได้ประโยชน์จากภาษีนำเข้าที่มาเลเซียเรียกเก็บจากไทยภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ไทยมีโอกาสอีกมากในการขยายตลาดสินค้าไทยในมาเลเซีย ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(สคร.) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระบุว่ามีผู้ประกอบการได้มีการสอบถามข้อมูลกับ สคร. มากขึ้นทั้งในแง่รายชื่อผู้นำเข้า กฎระเบียบของมาเลเซียที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า อัตราภาษีนำเข้า การแสดงความสนใจที่จะมาเจรจาธุรกิจในมาเลเซีย และเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง เช่น งานแสดงสินค้า Malaysia Halal International Show Case และ Malaysia International Food and Beverage เป็นต้น

ปัจจุบันตลาดสินค้าฮาลาลมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งไทยและมาเลเซียสามารถร่วมมือในหลายลักษณะซึ่งความเข้าใจของคนส่วนใหญ่อาจจะมองว่าผลิตภัณฑ์ฮาลาลมีเพียงอาหาร แต่ความจริงมันครอบคลุมสินค้าของใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่สบู่ ยาสีฟัน เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัว รองเท้า แว่นตา ไปจนถึงเครื่องเวชภัณฑ์ และบริการด้านต่างๆ นอกจากนี้ ผู้บริโภคสินค้าฮาลาลไม่ได้จำกัดวงเฉพาะชาวมุสลิมเท่านั้น ผู้บริโภคทั่วไปก็เป็นกลุ่มลูกค้าผลิตภัณฑ์ฮาลาล เพราะปัจจุบันสินค้าหรือบริการที่ได้รับตรารับรองความเป็นฮาลาลนั้นหมายความว่า นั่นคือสินค้าที่สะอาดและมีประโยชน์อย่างสูงสุดต่อร่างกาย นอกจากนี้ แนวโน้มและโอกาสทางการตลาดด้านฮาลาลคอสเมติกส์ยังเปิดกว้างอยู่มาก SMEs ไทยควรถือโอกาสนี้ขยายไลน์สินค้าออกมาเพื่อให้เป็นฮาลาลคอสเมติกส์เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่นับถือศาสนาอิสลามได้มากขึ้นในอนาคต

ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในย่านอาเซียน 9 สาขาใน 10 ประเทศเพื่อให้บริการท่าน สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2 สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ อีเมล: [email protected] สายด่วน 1333

ขอบคุณ
bangkokbanksme.com

เครื่องสำอางทะลุ3แสนล้าน แบรนด์ดังพาเหรดเจาะ CLMV

อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยโตไม่หยุด คาดปีนี้ตลาดรวมทั้งในและต่างประเทศพุ่ง 3.02 แสนล้าน ส่งออกคาดฟัน 1.38 แสนล้าน ตลาด CLMV ยังแรงติดอยู่กลุ่ม 10 อันดับแรก ยกนิ้วสินค้าไทยคุณภาพดี มีความหลากหลายให้เลือก แบรนด์ไทยพาเหรดลุยขยายตัว

นางเกศมณี เลิศกิจจานายกสมาคมผูผ้ ลติ เครื่องสำอางไทย และประธานคณะกรรมการอำนวยการ สมาคมเครื่องสำอางแห่งอาเซียน เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของไทยว่า ในปีทีผ่านมามีมูลค่ารวมประมาณ 2.88 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 10% แบ่งเป็นตลาดในประเทศประมาณ 1.60 แสนล้านบาท และตลาดส่งออก 1.28 แสนล้านบาท

สำหรับในปี 2560 ทางสมาคมคาดการณ์มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี2559 ไม่ตํ่ากว่า 7-8% หรือมีมูลค่าประมาณ 2.99-3.02 แสนล้านบาท โดยในส่วนของตลาดภายในคาดจะมีมูลค่า 1.71-1.72 แสนล้านบาท และการส่งออกคาดจะมีมูลค่า 1.36-1.38 แสนล้านบาท โดยตลาดที่กำลังขยายตัวสูงและติดอยู่ใน 10อันดับแรกของการส่งออกเครื่องสำอางไทยคือกลุ่ม CLMV (กัมพูชาลาว เมียนมา และเวียดนาม)ที่ส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านี้ไม่มีฐานผลิตเครื่องสำอางในประเทศจึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกของไทย

“สินค้าเครื่องสำอางไทยที่ขยายตัวต่อเนื่องใน CLMV มาจากเศรษฐกิจเขายังขยายตัวได้ดี คนก็มีรายได้ดีขึ้น และหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพและความงามกันมากขึ้น ประเทศเหล่านี้รับทีวีไทยได้ และเขาก็ชื่นชอบดาราหรือศิลปินไทย เมื่อเห็นดาราศิลปินเหล่านี้โฆษณาเครื่องสำอางก็เป็นผลพลอยได้ที่เขาจะซื้อหาเครื่องสำอางไทยเพราะอยากสวยแบบดาราไทย”

นางเกศมณี กล่าวอีกว่าจากตัวเลขของกรมศุลกากรที่ระบุในปีที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว มูลค่า 8.48หมื่นล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.6% ซึ่งโดยข้อเท็จจริงเครื่องสำอางยังรวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายเช่นสินค้าที่ดูแลเส้นผม ยาสีฟันนํ้ายาบ้วนปาก สินค้าที่ใช้ในสปายาทาเล็บ นํ้าหอม ดินสอเขียนคิ้ว เขียนตา แป้งพาวเดอร์ต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นในข้อเท็จจริงจึงมีการส่งออกมากกว่า 1.28 แสนล้านบาท

สำหรับสินค้าเครื่องสำอางไทยที่ดังไกลไปทั่วโลก อาทิ แป้งนํ้าแฮปปี้ที่มีมานานกว่า 60 ปีผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเส้นผมแบรนด์ดีวิเน่ที่ดังในฟิลิปปินส์และตะวันออกกลาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า ผิวพรรณ และความงามสเนลไวท์ และกิฟฟารีนที่ดังในจีน เป็นต้น โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเครื่องสำอางไทยจะอยู่ระดับกลาง-บน

สำหรับในปีนี้ทางสมาคมได้จัดงานแสดงสินค้าเครื่องสำอางไทย(อาเซียน บิวตี้) ไประหว่างวันที่ 27-29 เมษายนที่ผ่านมาและในเดือนกันยายนนี้จะจัดงานบียอน บิวตี้ อาเซียน แบงคอกซึ่งชื่องานแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านสินค้าเครื่องสำอางของไทยในภูมิภาคนี้ และจะช่วยให้ตัวเลขการส่งออกในปีนี้เป็นไปตามเป้าหมาย

นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย ยังกล่าวถึงการนำเข้าเครื่องสำอางของไทยจากต่างประเทศในปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า3.5 หมื่นล้านบาท โดยแหล่งนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ ฝรั่งเศสสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าการนำเข้าเครื่องสำอางจากเกาหลีใต้ในปีแล้วมีมูลค่า3,420 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 49% มองว่าเป็นผลจากการเอาจริงเอาจังของรัฐบาลเกาหลีในการสนับสนุนผู้ประกอบการในการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศและร่วมงานแสดงสินค้าในไทยขณะที่วัยรุ่นไทยให้ความนิยมดาราศิลปิน และซีรีส์เกาหลี จึงให้ความนิยมเครื่องสำอางเกาหลีตามไปด้วย อย่างไรก็ดีในภาพรวมเรายังเกินดุลการค้าสินค้าเครื่องสำอาง เพราะมูลค่าส่งออกยังสูงกว่าการนำเข้า

ส่วนกรณีที่เมื่อต้นปี 2560 ทางกระทรวงการคลังมีแนวคิดจะลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยในกลุ่มคอสเมติกและเครื่องสำอางเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว เป้าหมายให้ไทยเป็นช็อปปิ้งพาราไดส์ ซึ่งเรื่องนี้ทางสมาคมได้คัดค้านจนรัฐบาลยังคงภาษีไว้ที่เดิม (20-30%) เพราะหากยกเลิกภาษีผู้ประกอบการที่ส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีกว่า 90% จะได้รับผลกระทบขณะที่มีไม่กี่คนที่ได้ประโยชน์

อย่างไรก็ดี เวลานี้แม้จะยังไม่มีการลดภาษีก็มีเครื่องสำอางแบรนด์เกาหลีจะมาตั้ง หรือจ้างโรงงานไทยผลิต ถือเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัวเพราะหากมีฐานในไทยก็สามารถทำตลาดในไทยได้ง่ายขึ้น รวมถึงการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนที่ไทยเป็นผู้นำอยู่

“อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยเมื่อ 17-18 ปีที่แล้วเราส่งออกยังน้อยประมาณ 9 พันล้านบาท แต่หลังจากกระทรวงพาณิชย์โดยกรมส่งเสริมการส่งออก (ปัจจุบันคือกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) ได้บรรจุอยู่ในกลุ่มสินค้าที่รัฐให้การสนับสนุนปัจจุบันมูลค่าตลาดเราสูงกว่า2.8 แสนล้านบาท จากต้นทุนของไทยแข่งขันได้ และสินค้าผลิตได้คุณภาพมาตรฐานสากล”

7 เทรนด์คอสเมติกยุคใหม่ ทั้งพ่อค้าแม่ค้าและหนุ่มสาวรักสวยรักงาม ห้ามพลาด

เครื่องสำอางเป็นสิ่งจำเป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทำให้ธุรกิจคอสเมติกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น และประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตเครื่องสำอางที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอยู่ในลำดับที่ 17

ช่วง ไตรมาสแรกของปี 2561 (มกราคม – มีนาคม) มูลค่าตลาดส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อยู่ที่ 671.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวขึ้นจากปี 2560 ประมาณ 15.12% โดยเพิ่มมาจากกลุ่ม SME และต่อไปนี้คือเทรนด์เครื่องสำอางที่จะเกิดขึ้น

1. เครื่องสำอางออแกนิก

ผู้บริโภคยุคใหม่รักสุขภาพและเน้นธรรมชาติ 100% จึงนิยมวัตถุดิบธรรมชาติมากกว่าสารเคมี และยังรวมถึงบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดแก้วแทนพลาสติก กล่องสินค้าย่อยสลายได้ ดีทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

2. นวัตกรรมเทคโนโลยีความงาม

การใช้นวัตกรรมช่วยดึงดูดผู้บริโภคได้ดี เช่น การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ควบคุมคุณภาพการผลิต การจัดเก็บ สั่งซื้อและส่งของถึงมือลูกค้า ต้องมีความทันสมัยและเป็นสากล

3. สมุรไพรไทย Only in Thailand

การสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ไทย คือ การใช้ส่วนผสมที่หาได้จากเมืองไทยเท่านั้น แต่ก็ต้องมีความรู้จากงานวิจัยและวิทยาศาสตร์มาเสริมควบคู่ไปด้วย

4. IoT Smart Beauty

IoT เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ถ้าสามารถนำนวัตกรรม IoT มาผนวกกับเครื่องสำอางได้ เช่น การใช้เซนเซอร์ผนึกกับผิวหนังเผื่อตรวจวัดค่าแสง UV พร้อมรายงานให้ผู้ใช้ทราบผ่านมือถือแบบเรียลไทม์ การสร้างแอพพลิเคชั่นเสริมเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับรู้ถึงผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อร่างกาย การสแกนใบหน้าเพื่อวัดค่าอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง ช่วยสร้างความแตกต่าง จดจำแบรนด์

5. ตอบโจทย์ทุกเฉดสีผิว

การให้ความสำคัญกบความหลากหลายของผู้บริโภค ต้องเข้าใจทุกปัญหาและความต้องการ เพื่อเข้าถึงตลาดได้มากขึ้น

6. Anti-Pollution

ปัญหามลภาวะ โดยเฉพาะคนเมืองหลีกเลี่ยงได้ยาก ไอเสียจากการจราจร ผุ่นละอองขนาดเล็กที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า สิ่งเหล่านี้ถือเป็นภัยที่ทำร้ายสุขภาพและความสวยงามได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การผลิตเครื่องสำอางเพื่อปกป้องผิวจึงเป็นอีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจและเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้บริโภคจะมีความต้องการผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแน่นอน

7. กลิ่นหอมสร้างแรงบันดาลใจ

กลิ่นเป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจ หลายแบรนด์ดังนำกลิ่นมาเป็นส่วนผสม เช่น กลิ่นผลไม้ กลิ่นขนมหวาน กลิ่นเครื่องดื่ม กลิ่นดอกไม้ เป็นการเข้าถึงความรู้สึกและให้ประโยชน์เพิ่มเติม เช่น ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย แก้อาการวิตกกังวล ให้ความรู้สึกสดชื่น เป็นต้น

#ขอบคุณ
brandinside.asia

CALL
วันจันทร์-วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 21.00 น.
โทร. 098 932 5959
CHAT
วันจันทร์-วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 21.00 น.
line @maliprachan
EMAIL
ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
อีเมล์ถึงเรา
[email protected]

CALL


วันจันทร์-วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 21.00 น.
โทร. 098 932 5959

CHAT


วันจันทร์-วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 21.00 น.
line @maliprachan

EMAIL


ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
อีเมล์ถึงเรา
[email protected]
บริษัท มะลิพระจันทร์ จำกัด

97/63 เอกสิน แฟคทอรี่ หมู่ 2
ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 11) ต.บึงน้ำรักษ์
อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี 12110

บริการของเรา
ขั้นตอนการผลิตสินค้า
ผลิตภัณฑ์สินค้าทั้งหมด
เชื่อมต่อเรา

@maliprachan

ที่ตั้ง
บริษัท มะลิพระจันทร์ จำกัด

97/63 เอกสิน แฟคทอรี่ หมู่ 2
ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 11) ต.บึงน้ำรักษ์
อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี 12110